ทรูมูฟ เอช (อังกฤษ: True Move-H) หรือ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด (Real Move Co., Ltd
) และ บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด (Real Future Co., Ltd) เป็นบริษัทลูกของ
โดยเป็นตัวแทนขายส่งต่อบริการของ กสท. โทรคมนาคม เดิมคือเครือข่ายฮัทซ์
ในการดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระยะที่ 3 (3G) บนเครือข่ายดับเบิลยูซีดีเอ็มเอ
850 เมกกะเฮิตซ์ บนช่วงความถี่ 15 เมกกะเฮิตซ์ ที่ถือว่ามากที่สุดในกลุ่มผู้ให้บริการ
ในปัจจุบัน (รวมทรูมูฟ) และยังได้รับใบอนุญาตในการดำเนินการโครงข่าย
โทรศัพท์มือถือบนเครือข่ายดับเบิลยูซีดีเอ็มเอ 2100 เมกกะเฮิตซ์
บนช่วงความถี่ 15 เมกกะเฮิตซ์ จาก กสทช. เพื่อมาดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ
ระยะที่ 3 และโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระยะที่ 4 (4G LTE) โดยเครือข่าย
ทรูมูฟ-เอช กับ ทรูมูฟ ในทางธุรกิจโทรคมนาคมจะถือว่าเป็นคนละเครือข่ายกัน
แต่ทั้งสองเครือข่ายมีวิธีดำเนินการเหมือนกันทุกประการ
ผลิตภัณฑ์[แก้]
ทรูมูฟ เอช มีผลิตภัณฑ์คือระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือ 3G ในระบบ
รายเดือนและเติมเงิน (ระบบเติมเงิน เริ่มให้บริการเมื่อต้นปี 2555)[2]
โดยมีความเร็วในการให้บริการถึง 42 เมกะบิต/วินาที
(ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้งานและพื้นที่ให้บริการ) โดยใช้เทคโนโลยี HSPA+
ในระยะแรกของการให้บริการ (ตุลาคม 2554) ทรูมูฟ เอช
ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และอีก 16 จังหวัด ได้แก่
ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา นครปฐม
สมุทรสาคร ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี เชียงใหม่ สงขลา
สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และกระบี่[3]
ต่อมาจึงครอบคลุมในทุกๆ อำเภอเมือง และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ
ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศไทย และครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด ในเขตกรุงเทพมหานครปริมณฑล
รวมทั้งยังครอบคลุมในจุดที่ลึกที่สุดของกรุงเทพมหานครอย่างโครงการ
การใช้งานข้ามเครือข่าย หรือโรมมิ่งกับทรูมูฟแทน
ณ เดือนเมษายน 2556 ทรูมูฟ เอช ให้บริการครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด 928 อำเภอ
และกว่า 7,000 ตำบลในประเทศไทย ด้วยสถานีฐานมากกว่า 13,000 สถานี[4]
นอกจากนี้ ทรูมูฟ เอช ยังมีอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ รุ่น Go Live[5][6][7]
เข้ามาจำหน่ายอีกด้วย
โดยโครงข่ายที่ทรูมูฟ เอช นำมาให้บริการเป็นโครงข่ายรหัส 520-00 ของ กสท.
โทรคมนาคม โดยตรง โดยเรียลมูฟรับหน้าที่ในการดำเนินการติดตั้ง
อุปกรณ์กระจายสัญญาณ ร่วมถึงพัฒนาระบบร่วมกันกับกสท. โทรคมนาคม
แต่ในลักษณะของการให้บริการ ทรูมูฟ เอชจะได้เนื้อที่ในโครงข่ายเพียง 80%
จากทั้งหมด ส่วนที่เหลือ กสท. โทรคมนาคม จะนำไปเปิดให้บริการ 3G ของตนเองในแบรนด์
Myนอกจากนี้ทรูมูฟ เอช ยังมีโครงข่ายรหัส 520-04 ที่เป็นของเรียลฟิวเจอร์
สำหรับให้บริการโครงข่าย 3G คลื่นความถี่ 2100 เมกกะเฮิตซ์ และให้บริการโครงข่าย 4G LT
E บนคลื่นความถี่ 2100 เมกกะเฮิตซ์เช่นกัน โดยทั้งสองระบบบนคลื่น 2100 เมกกะเฮิตซ์นี้
จะทำหน้านี้ในการดำเนินการต่างกันเล็กน้อย คือคลื่น 3G 2100 เมกกะเฮิตซ์
จะเอามาขยายสัญญาณ 3G ที่มีอยู่เดิมของ 520-00 ให้เข้มมากขึ้น และเพื่อให้รองรับอุปกรณ์ต่างๆ
ได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนคลื่น LTE 2100 เมกกะเฮิตซ์ จะเป็นการแบ่งคลื่นจาก 3G 210
0 เมกกะเฮิตซ์บางส่วน เพื่อให้บริการในหัวเมืองหลัก ที่ต้องการความเร็วในการใช้งานค่อนข้างสูง
และทั้ง 3 คลื่น จะโรมมิ่งสลับกันไปมา ตามแต่ละพื้นที่ที่ให้บริการได้
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ทรูมูฟ เอช ได้แถลงข่าวเปิดตัวสโลแกนใหม่
The Best 3G And The First 4G พร้อมเปิดตัวบริการ 4G LTE เชิงพาณิชย์เป็นรายแรก
(โดยการแบ่งคลื่น 2100 MHz ที่ได้จากการประมูล 3G บางส่วน เป็นช่วงความถี่กว้าง 10 MHz
ให้บริการที่ความเร็วดาวน์โหลด 100 Mbps และอัปโหลด 50Mbps[19][20]
โดยในช่วงแรกจะเปิดให้บริการใจกลางกรุงเทพฯ ก่อนขยายออกไปครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ
และปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ) รวมถึงอีก 13 หัวเมือง
ประกอบไปด้วย ขอนแก่น, เชียงใหม่, ชะอำ-หัวหิน, ชลบุรี, นครปฐม, โคราช, (อ.เมือง อ.ปากช่อง), นครศรีธรรมราช, พิษณุโลก, ภูเก็ต, สงขลา(อ.เมือง, อำเภอหาดใหญ่),
และนักแสดงของไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาเป็นพรีเซ็นต์เตอร์ในภาพยนตร์โฆษณา
อ้างอิง[แก้]