ทรูมูฟ เอช (อังกฤษ: True Move-H) หรือ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด (Real Move Co., Ltd
) และ บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด (Real Future Co., Ltd) เป็นบริษัทลูกของ
บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่ทำธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือรายหนึ่งในประเทศไทย
โดยเป็นตัวแทนขายส่งต่อบริการของ กสท. โทรคมนาคม เดิมคือเครือข่ายฮัทซ์
ของบริษัท ฮัทจิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ที่ถูกกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น
เข้าซื้อกิจการโดยผ่านความเห็นชอบจากกสท. โทรคมนาคม[1] และได้รับอนุญาต
ในการดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระยะที่ 3 (3G) บนเครือข่ายดับเบิลยูซีดีเอ็มเอ
850 เมกกะเฮิตซ์ บนช่วงความถี่ 15 เมกกะเฮิตซ์ ที่ถือว่ามากที่สุดในกลุ่มผู้ให้บริการ
ในปัจจุบัน (รวมทรูมูฟ) และยังได้รับใบอนุญาตในการดำเนินการโครงข่าย
โทรศัพท์มือถือบนเครือข่ายดับเบิลยูซีดีเอ็มเอ 2100 เมกกะเฮิตซ์
บนช่วงความถี่ 15 เมกกะเฮิตซ์ จาก กสทช. เพื่อมาดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ
ระยะที่ 3 และโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระยะที่ 4 (4G LTE) โดยเครือข่าย
ทรูมูฟ-เอช กับ ทรูมูฟ ในทางธุรกิจโทรคมนาคมจะถือว่าเป็นคนละเครือข่ายกัน
แต่ทั้งสองเครือข่ายมีวิธีดำเนินการเหมือนกันทุกประการ
ผลิตภัณฑ์[แก้]
ทรูมูฟ เอช มีผลิตภัณฑ์คือระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือ 3G ในระบบ
รายเดือนและเติมเงิน (ระบบเติมเงิน เริ่มให้บริการเมื่อต้นปี 2555)[2]
โดยมีความเร็วในการให้บริการถึง 42 เมกะบิต/วินาที
(ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้งานและพื้นที่ให้บริการ) โดยใช้เทคโนโลยี HSPA+
ในระยะแรกของการให้บริการ (ตุลาคม 2554) ทรูมูฟ เอช
ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และอีก 16 จังหวัด ได้แก่
ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา นครปฐม
สมุทรสาคร ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี เชียงใหม่ สงขลา
สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และกระบี่[3]
ต่อมาจึงครอบคลุมในทุกๆ อำเภอเมือง และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ
ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศไทย และครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด ในเขตกรุงเทพมหานครปริมณฑล
รวมทั้งยังครอบคลุมในจุดที่ลึกที่สุดของกรุงเทพมหานครอย่างโครงการ
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกด้วย แต่นอกเหนือจากนี้จะให้บริการผ่าน
การใช้งานข้ามเครือข่าย หรือโรมมิ่งกับทรูมูฟแทน
ณ เดือนเมษายน 2556 ทรูมูฟ เอช ให้บริการครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด 928 อำเภอ
และกว่า 7,000 ตำบลในประเทศไทย ด้วยสถานีฐานมากกว่า 13,000 สถานี[4]
เข้ามาจำหน่ายอีกด้วย
โดยโครงข่ายที่ทรูมูฟ เอช นำมาให้บริการเป็นโครงข่ายรหัส 520-00 ของ กสท.
โทรคมนาคม โดยตรง โดยเรียลมูฟรับหน้าที่ในการดำเนินการติดตั้ง
อุปกรณ์กระจายสัญญาณ ร่วมถึงพัฒนาระบบร่วมกันกับกสท. โทรคมนาคม
แต่ในลักษณะของการให้บริการ ทรูมูฟ เอชจะได้เนื้อที่ในโครงข่ายเพียง 80%
จากทั้งหมด ส่วนที่เหลือ กสท. โทรคมนาคม จะนำไปเปิดให้บริการ 3G ของตนเองในแบรนด์
Myนอกจากนี้ทรูมูฟ เอช ยังมีโครงข่ายรหัส 520-04 ที่เป็นของเรียลฟิวเจอร์
สำหรับให้บริการโครงข่าย 3G คลื่นความถี่ 2100 เมกกะเฮิตซ์ และให้บริการโครงข่าย 4G LT
E บนคลื่นความถี่ 2100 เมกกะเฮิตซ์เช่นกัน โดยทั้งสองระบบบนคลื่น 2100 เมกกะเฮิตซ์นี้
จะทำหน้านี้ในการดำเนินการต่างกันเล็กน้อย คือคลื่น 3G 2100 เมกกะเฮิตซ์
จะเอามาขยายสัญญาณ 3G ที่มีอยู่เดิมของ 520-00 ให้เข้มมากขึ้น และเพื่อให้รองรับอุปกรณ์ต่างๆ
ได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนคลื่น LTE 2100 เมกกะเฮิตซ์ จะเป็นการแบ่งคลื่นจาก 3G 210
0 เมกกะเฮิตซ์บางส่วน เพื่อให้บริการในหัวเมืองหลัก ที่ต้องการความเร็วในการใช้งานค่อนข้างสูง
และทั้ง 3 คลื่น จะโรมมิ่งสลับกันไปมา ตามแต่ละพื้นที่ที่ให้บริการได้
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ทรูมูฟ เอช ได้แถลงข่าวเปิดตัวสโลแกนใหม่
The Best 3G And The First 4G พร้อมเปิดตัวบริการ 4G LTE เชิงพาณิชย์เป็นรายแรก
(โดยการแบ่งคลื่น 2100 MHz ที่ได้จากการประมูล 3G บางส่วน เป็นช่วงความถี่กว้าง 10 MHz
โดยในช่วงแรกจะเปิดให้บริการใจกลางกรุงเทพฯ ก่อนขยายออกไปครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ
และปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ) รวมถึงอีก 13 หัวเมือง
ประกอบไปด้วย ขอนแก่น, เชียงใหม่, ชะอำ-หัวหิน, ชลบุรี, นครปฐม, โคราช, (อ.เมือง อ.ปากช่อง), นครศรีธรรมราช, พิษณุโลก, ภูเก็ต, สงขลา(อ.เมือง, อำเภอหาดใหญ่),
สุราษฏร์ธานี (อ.เมือง, เกาะสมุย), อุบลราชธานี และอยุธยา ภายในสิ้นปี 2556[21]
ทรูมูฟ เอช ได้ใช้ศิลปินนักร้องจากรายการทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย
และนักแสดงของไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาเป็นพรีเซ็นต์เตอร์ในภาพยนตร์โฆษณา
เจมส์ มาร์ รวมไปถึงศิลปินชื่อดังจากต่างชาติ อาทิ เกิลส์เจเนอเรชัน และทีมปีศาจแดง
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เป็นต้น
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ทรูซื้อฮัทช์ดีลฮอต6,300ล้านปิดท้ายปีเสือ
- ↑ TrueMove H เปิดตัวซิมเติมเงินกับบริการเติมเงินบนเครือข่าย 3G+
- ↑ ทรูมูฟ เอช ขยายบริการ 3G+ สูงสุด 42 Mbps ครอบคลุมรถไฟฟ้าใต้ดินตลอดเส้นทาง
- ↑ พื้นที่ให้บริการ 3G 850/2100 Mhz.
- ↑ GO Live 3031 สีดำ
- ↑ GO Live 3031 สีขาว
- ↑ GO Live 2
- ↑ GO Live S1
- ↑ GO Live S2
- ↑ GO Live Dual Core
- ↑ TRUE BEYOND 3G
- ↑ TRUE BEYOND TAB
- ↑ TRUE Beyond 4G
- ↑ TRUE Beyond 4G (เครื่องแมนยู)
- ↑ Aircard 3G 7.2 Mbps.
- ↑ Aircard 3G 21 Mbps.
- ↑ Aircard 4G LTE
- ↑ Aircard 4G LTE (รุ่นแมนยู)
- ↑ Truemove H รุดหน้าเปิดบริการ 4G LTE บนคลื่น 2100 MHz รายแรกในไทย
- ↑ เว็บไซต์ทรูมูฟเอช 4G LTE
- ↑ พื้นที่ให้บริการ 4G LTE